จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ขอบคุณท่านที่กด Share ด้านบนให้กับเว็บไซต์นี้
สิ่งที่ไม่ควรกระทำมากที่สุดในระบบบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบ คือ การปรับค่า pH โดยการใช้กรดหรือด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง เช่น กรดซัลฟูริค โซดาไฟ เป็นต้น เพราะสารเหล่านี้เป็นอันตรายทำลายจุลินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะในบ่อเติมอากาศ ส่งผลให้ปริมาณจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียลดลง และจะส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งโดยตรง ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ในระบบบำบัด กรณีที่เป็นสารเคมีจากไลน์ผลิตและเป็นสารเคมีอันตราย ให้ทำการเจือจาง( Dilute )ด้วยปูนขาวก่อน เพื่อลดความรุนแรงของสารเคมี ก่อนเข้าระบบบำบัด เราได้สังเคราะห์กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งรวมอยู่ในจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ลูกค้าได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นและมากขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่มีการปรับเพิ่มราคาหรือบวกราคาแต่ประการใด คงเป็นราคาปกติตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งมีคุณสมบัติในการกำจัดไนโตรเจน( ลดค่า TKN )แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์ ซึ่งคุณสมบัตินี้จะไม่มีในจุลินทรีย์กลุ่มอื่น ต้นกำเนิดของการบำบัดของเสียและบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น) ที่แท้จริงคือ จุลินทรีย์จากธรรมชาติ(ที่มีประโยชน์) ในการบำบัดกลิ่นหรือการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆบนโลกใบนี้เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกใบนี้จนถึงปัจจุบัน เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในธรรมชาติที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา ปฏิกิริยาของการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) เป็นปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างจุลินทรีย์ในธรรมชาติกับสารอินทรีย์ จุลินทรีย์ที่จะมาทำหน้าที่บำบัดกลิ่นจะต้องเป็นกลุ่มจุลินทีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการบำบัดกลิ่นเท่านั้นที่มีอยู่ในธรรมชาติ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นจุลินทรีย์รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อมของโลก ถ้าปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ โลกจะเต็มไปด้วยมลพิษและมลภาวะทั้งมาจากธรรมชาติสร้างขึ้นมาและมนุษย์สร้างขึ้น ทั้งการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น )และการบำบัดของเสียต่างๆถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ที่นี่..เราวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาแนะนำให้กับลูกค้าที่ซื้อจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปจากเรา ให้ใช้งานจุลินทรีย์ในแต่ละเรื่องอย่างถูกต้อง เช่น การนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียใช้อย่างไร ใช้ในจุดใด ใช้ในปริมาณเท่าใด ปรับให้เข้ากับบ่อบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่ลูกค้ามีอยู่อย่างไร หรือกรณีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในการบำบัดกลิ่น( ดับกลิ่น ) จะใช้อย่างไร ใช้ในจุดไหน ใช้ปริมาณเท่าใด ฯลฯ การใช้จุลินทรีย์อย่างตรงจุดและตรงประเด็น การใช้งานจุลินทรีย์เป็นและใช้ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า เราปฏิบัติเช่นนี้ บำบัดน้ำเสียแบบมืออาชีพ ต้องจุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอมเจ้าแรกของประเทศไทย ใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัด ได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)และการบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ในบ่อบำบัดน้ำเสียในเวลาเดียวกันทันที
ตัวจักรหรือตัวแปรที่สำคัญในการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบคือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย(จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย) ซึ่งเป็นตัวจักรที่สำคัญมากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายจากทุกๆแหล่งและทุกๆระบบบำบัด ซึ่งต้องใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียทั้งสิ้นในการแปรสภาพของสสารกลายไปเป็นพลังงาน น้ำ และก๊าซ จุลินทรีย์คืออะไร ? จุลินทรีย์ ( Micro-organism ) หรือจุลชีพ หรืออีกชื่อคือแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กๆไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาเปล่า เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีทั้งประเภทให้ประโยชน์ ให้โทษ และเป็นกลาง(ตามภาพจำลองด้านบน) จุลินทรีย์ในโลกนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน การดำรงชีพมีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน 100%ของจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกใบนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้ .- 1. กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน กลุ่มนี้มีอยู่ในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ รวมกันประมาณ 10 % ( ชนิดใช้ออกซิเจน + ชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ให้ประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ในหลายๆด้าน จุลินทรีย์ที่อยู่ในนมเปรี้ยวก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ มีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งเป็นยาและอาหาร การหมักปุ๋ย ฯลฯ 2. กลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษหรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่สร้างปัญหาก่อเชื้อโรคต่างๆ ต่อพืชและสัตว์ มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจนเช่นกัน กลุ่มนี้มีอยู่ในธรรมชาติรวมกันประมาณ 10 % ของจุลินทรีย์โดยรวมทุกๆชนิด อาหารบูดเน่า แผลติดเชื้อ แผลเน่าก็มาจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ ติดเชื้อแบคทีเรียก็คือจุลินทรีย์กลุ่มนี้นั่นเอง 3. กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลาง ซึ่งเข้าร่วมงานกับจุลินทรีย์กลุ่มใดก็ได้ใน 2 กลุ่มข้างต้น มีทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจนเช่นกัน กลุ่มนี้มีอยู่ในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศประมาณ 80 % มากที่สุดในบรรดากลุ่มจุลินทรีย์ทั้งหมดในธรรมชาติ ( ตามแบบจำลองด้านบน ) จุลินทรีย์เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)อย่างไร ? บรรดาของเสียทั้งหลายทั้งมวลบนโลกใบนี้ ซึ่งรวมทั้งน้ำเสียและของเสียต่างๆที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ย่อยสลายทั้งสิ้น ( กลุ่มที่มีประโยชน์กลุ่มที่ 1 ) ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยา ในน้ำเสียจะมีสิ่งปนเปื้อนและสิ่งสกปรกที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์แร่ธาตุต่างๆเจือปนอยู่ในน้ำเสีย สิ่งสกปรกที่เป็นมลสารทั้งหลายเหล่านี้จะถูกย่อยสลายให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลงเรื่อยๆจนสุดท้ายของวัฎฎจักรการย่อยสลายสสารเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนรูปไปเป็น พลังงาน + น้ำ + CO2 ตามภาพจำลองสมการด้านล่าง เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อจัดการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้น จึงต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่มีประโยชน์นี้ ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียต่างๆคงล้นโลกไปนานแล้ว ดังนั้น ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆแห่งและทุกๆระบบจะขาดซึ่งจุลินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้โดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ถือว่ามีความสำคัญและมีบทบาทในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี เพียงแต่เราจะเลือกกลุ่มใดมาใช้งาน ต้องดูที่หลักการและเหตุผล จุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละชนิด จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? ความหมายของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย)คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียก็ไม่จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ในโลกใบนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) มีอยู่แบบกระจัดกระจายทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มตามลักษณะการดำรงชีพ ดังต่อไปนี้ .- 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) ซึ่งก็มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกันที่มีอยู่ในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ ทั่วๆไป จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ขาดออกซิเจนไม่ได้ จะใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพเจริญเติบโตขยายเซลล์และการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย) สามารถดึงจากธรรมชาติได้ง่าย ถ้ามีการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโต 2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic Bacteria ) ซึ่งก็มีหลากหลายสายพันธุ์เช่นกัน มีอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ อากาศ แต่อยู่แบบกระจัดกระจายกันไป ไม่ค่อยรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน นอกจากจะมีการนำมารวมกันในภายหลัง(สังเคราะห์ขึ้น) จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนกลุ่มนี้มีปริมาณน้อยในธรรมชาติ ถ้าต้องการปริมาณที่มากต้องมีการสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อเลี้ยงเชื้อให้ขยายเซลล์ได้ตามที่ต้องการ จุดแข็งของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ทนต่อสภาพแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียไม่มีหรือมีน้อย จะไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาอยู่แล้ว หรือการทนทานต่อค่า pH ที่ต่ำมากหรือสูงมาก จุลินทรีย์ที่จะแปรสภาพย่อยสลายของเสียทั้งหลายได้นั้น ต้องเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายเท่านั้น ( ทั้งกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติรวมกันประมาณ 10% จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสียต่างๆ)ในน้ำเสียที่นิยมนำมาใช้งานในปัจจุบัน ส่วนใหญจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะสามารถดึงมาใช้ได้ง่ายๆกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน จะเห็นได้ว่าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ ( ทุกๆระบบ ) ออกแบบเพื่อรองรับการดึงออกซิเจนเข้าไปเติมในระบบบำบัด ( เติมในบ่อบำบัด ) เพื่อต้องการให้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักมารวมกลุ่มเจริญเติบโตขยายเซลล์ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียนั้นๆ ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายยิ่งมาก ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียก็เกิดขึ้นมาก กากตะกอนของเสียต่างๆในน้ำเสียก็จะเหลือน้อยลง หรือลดลงตามศักยภาพการย่อยสลายของจุลินทรีย์ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถคอนโทรล หรือควบคุมจำนวนหรือปริมาณของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนให้ได้ตามที่ต้องการในบ่อบำบัดน้ำเสีย ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในแต่ละช่วงเวลา อาจจะมีปริมาณมากเพียงพอกับการย่อยสลายของเสียหรืออาจมีน้อยกว่าปริมาณของเสีย แต่ส่วนใหญ่ของระบบบำบัดน้ำเสียจะมีปัญหาปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียมีปริมาณน้อยกว่าของเสียและน้ำเสีย จึงส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดบ่อยๆ ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( Activated Sludge ) ระบบบำบัดนี้มีจุดอ่อนหลายจุดด้วยกัน ถ้าการบริหารจัดการดูแลและบำรุงรักษาไม่ดีพอระบบอาจจะล้มเหลวได้ง่ายๆ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าหรือหลายๆค่าอาจไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนจะควบคุมค่อนข้างยาก ( ควบคุมไม่ได้ตามที่ต้องการ ) เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่กระจายกระจายอยู่ตามธรรมชาติ ถ้าออกแบบสิ่งแวดล้อมของระบบบำบัดไม่เหมาะสมกับการดำรงชีพและการเจริญเติบโตของมันก็จะมีปัญหา ระบบบำบัดมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายน้อย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียไม่ทัน ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์เป็นประจำ นี่คือเรื่องราวของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย) ทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ทำหน้าที่ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)เหมือนกัน แต่การดำรงชีพและทนกับแรงต้านทางจากสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน มีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกัน น้ำเสียมีอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะตามอาคาร บ้านเรือน โรงงาน สถานประกอบการทุกๆแห่ง แต่ส่วนใหญ่ขาดการบำบัดให้เป็นน้ำดีหรือมีการบำบัดแต่ระบบบำบัดยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ( ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียไม่สมบูรณ์มีมากที่สุดแทบทุกแห่ง ) จึงส่งผลให้น้ำเสียยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง บรรดาน้ำเสียหรือน้ำเน่าเสีย ของเสียต่างๆบนโลกใบนี้ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายและบำบัดทั้งสิ้น ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ของเสียและน้ำเสียคงล้นโลกไปแล้ว ของเสียบางชนิดใช้เวลาย่อยสลายไม่นาน แต่ของเสียบางชนิดต้องใช้เวลาย่อยสลายเป็นเวลานาน กรณีน้ำเสียหรือน้ำที่เน่าเสียจะใช้เวลาในการบำบัดและย่อยสลายไม่นานมาก ตามปกติของเสียและน้ำเสียโดยทั่วๆไปในธรรมชาติ จะถูกย่อยสลายและบำบัดโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายทั้งชนิดใช้ออกซิเจนและชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ) ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักจะมีจุดอ่อนหรือจุดด้อยตรงที่ต้องใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย(บำบัดของเสียและน้ำเสีย) ถ้าปราศจากซึ่งออกซิเจนแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำเสียหรือบนบก จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ไม่สามารถทำงานได้ (ตาย) น้ำเสียและของเสียก็ยังคงไม่ได้รับการบำบัดและย่อยสลาย ซึ่งจะสร้างมลพิษและมลภาวะต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)จึงมาลงเอยที่กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ซึ่งสามารถทำงานย่อยสลายของเสีย(บำบัดน้ำเสีย)ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีออกซิเจนในน้ำเสียนั้นๆ ไม่ว่าในน้ำหรือบนบกก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ประการสำคัญกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ต้องการปริมาณมากเท่าใดก็สามารถทำได้ ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาค่อนข้างยากต้องออกแบบระบบและดูแลในเรื่องสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม จึงจะเพิ่มปริมาณได้ จุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มนี้ ( กลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ) สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายคล้ายๆกัน
ภาพบนเป็นภาพจำลองของปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งจะแปรเปลี่ยนสภาพของเสียที่เจือปนอยู่ในน้ำเสียทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ไปเป็น น้ำ + พลังงาน + CO2 ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด ์ ) ของเสียต่างๆในโลกนี้ไม่ล้นโลกก็มาจากฝีมือของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียนี้เอง จุลินทรีย์รักษ์โลกก็คือจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้นี่เอง ช่วยให้ขยะไม่ล้นโลก ช่วยให้น้ำเสียไม่ล้นโลก ช่วยลดมลภาวะและมลพิษในสิ่งแวดล้อม รักษาสิ่งแวดล้อม
จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ( Waste Water Treatment Bacteria ) จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น จะไปนำจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆที่ไม่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียมาใช้งานย่อยสลายก็ไม่ได้ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยด้วยกันตามลักษณะการดำรงชีพและการทำปฏิกิริยาดังต่อไปนี้ .- 1. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ขาดออกซิเจนไม่ได้ ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ รวมถึงใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้มากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียในทุกๆระบบบำบัด ระบบบำบัดน้ำเสียแทบจะทุกๆระบบจะใช้งานจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นหลักในการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสีย ) เพราะสามารถดึงจากธรรมชาติมาใช้งานง่าย เพียงออกแบบระบบต่างๆและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการดำรงชีพ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ทำงานย่อยสลายให้ตามที่ต้องการ แต่ก็มีข้อจำกัดและเงื่อนไขหลายอย่างที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ เช่น อุณหภูมิพอเหมาะ ค่า pH ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ( เจริญเติบโตได้ดีในช่วงค่า pH 6 -8 ) ถ้าค่า pH ต่ำมากๆหรือสูงมากๆจะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มนี้ตายยกบ่อได้ทันที หรือกรณีค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำเสียมีน้อย ( ค่า DO ต่ำ ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ เพราะขาดออกซิเจนไม่ได้ จุลินทรีย์ตายยกบ่อบำบัดได้ถ้าขาดออกซิเจน บ่อบำบัดจะส่งกลิ่นเน่าเหม็นทันที ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหา ส่วนใหญ่ก็มาจากสาเหตุเหล่านี้ส่วนหนึ่ง 2. กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic Bacteria ) ซึ่งก็มีหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียโดยไม่ใช้ออกซิเจนเหมือนกลุ่มแรก ทำปฏิกิริยาย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนในน้ำเสีย สามารถทำงานย่อยสลายร่วมกับกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนก็ได้ การดึงมาใช้งานบำบัดน้ำเสียทำได้ค่อนข้างยาก จะไม่เหมือนกลุ่มแรกที่สามารถดึงมาใช้งานได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมีการสังเคราะห์จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้ขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียดังกล่าว ข้อดีของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ ทนทานหรือต้านทานต่อสภาวะแวดล้อมที่วิกฤตได้ดีกว่ากลุ่มแรก ดังนั้น จึงสามารถนำมาทดแทนปิดจุดด้อยหรือจุดอ่อนของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักได้ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียได้อย่างไร ? สำหรับการบำบัดน้ำเสียไม่ว่าจะใช้กรรมวิธีใดๆก็ตาม ซึ่งในน้ำเสียจะมีสิ่งเจือปนและปนเปื้อนของเสียอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ สสารทั้งหลายเหล่านี้จะถูกบำบัดในแต่ละขั้นตอนของการบำบัด การบำบัดขั้นตอนสุดท้ายของเสียต่างๆที่มีขนาดเล็กลงจากการบำบัดมาแล้วในขั้นต้นจะถูกย่อยสลายโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสีย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนหรือกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ทั้งนั้น การบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียของจุลินทรีย์ย่อยสลายถือว่าเป็นกลไกการแปรเปลี่ยนสถานะของสสารขั้นตอนสุดท้าย ให้สสารแปรเปลี่ยนไปเป็น น้ำและก๊าซต่างๆรวมถึงพลังงานตามสมการด้านล่างของปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายนี้
ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ(ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายบำบัด) 1. การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศออกซิเจน (Aerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้ถ้าไม่มีออกซิเจน ( ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ) ก็ไม่สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพในน้ำเสียนั้นๆได้ น้ำก็จะเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ทางกายภาพจากกลิ่นเน่าเหม็น น้ำเสียมีสีดำ และเช็คค่า BOD ค่า DO โดยภาวะปกติในน้ำที่จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ค่า DO ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 2mg/l ขึ้นไป จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพและทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ดังนั้น ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ( ค่า DO ) ต้องไม่น้อยกว่า 2 mg/l ยิ่งค่า DO เป็นศูนย์ จุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ก็จะตายยกบ่อบำบัด นี่คือความสำคัญของออกซิเจนที่มีต่อจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักกลุ่มนี้ ในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะในบ่อเติมอากาศ ควรมีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายในบ่อนี้ประมาณ 2,000 - 3,000 mg/l จึงจะทำการย่อยสลายของเสียบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศออกซิเจน (Anaerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสียสำหรับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศออกซิเจนในการดำรงชีพและในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆ ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียนั้นๆ ( ค่า DO ) ไม่มีความจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มนี้ (ไม่มีการดึงออกซิเจนในน้ำเสียไปใช้ ) ดังนั้น ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียมีปริมาณเท่าใดก็ยังคงมีปริมาณไม่ลดลง เป็นจุดเด่นที่แตกต่างกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนนี้ทำงานย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนหรือมีออกซิเจนก็ได้ จึงเป็นตัวทดแทนกลุ่มจุลินทรีย์ย่อบสลายที่ใช้ออกซิเจนได้ดีในยามที่มีปัญหาหรือขาดแคลนจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัด แต่จุดอ่อนของจุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็คือ การดึงมาใช้งานค่อนข้างยาก นอกจากการสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการจึงจะได้เป็นกลุ่มก้อนจำนวนมากได้ตามที่ต้องการ การบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธีการด้วยกัน ทั้งวิธีทางกายภาพ เช่น การตกตะกอน การกรอง การนำไปกำจัดทิ้ง ส่วนการบำบัดน้ำเสียทางเคมีด้วยการใช้สารเคมีบางชนิดมาบำบัด ซึ่งส่วนใหญ่น้ำเสียที่ใช้วิธีการบำบัดทางเคมีนั้นจะปนเปื้อนสารเคมี หรือการตกตะกอนด้วยสารเคมีบางชนิดก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดน้ำเสีย ส่วนการบำบัดอีกวิธีหนึ่งก็คือ การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ คือการใช้จุลินทรีย์(ที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ)ย่อยสลายของเสียให้มีโมเลกุลเล็กลงเรื่อยๆจนกระทั่งแปรเปลี่ยนสถานะของสสาร(ของเสียในน้ำเสีย)กลายไปเป็น น้ำ + พลังงาน + ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้ายในการแปรเปลี่ยนสถานะของสสารที่เป้นของเสีย ไม่ว่าการบำบัดน้ำเสียจะด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม แต่ขั้นตอนสุดท้ายของการบำบัดน้ำเสีย ต้องพึ่งพาและอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียเท่านั้น ของเสียและน้ำเสียไม่ล้นโลกก็มาจากผลงานของจุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์รักษ์โลก(รักษาโลก) มีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาและการดำรงชีพขยายเซลล์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม สำหรับการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะนิยมใช้งานกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก เพราะสามารถดึงมาจากธรรมชาติใช้งานได้ง่าย ถ้าออกแบบระบบสิ่งแวดล้อมให้มันได้อยู่อาศัยดีพอ แต่ค่อนข้างควบคุมได้ยาก มีความอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะสิ่งแวดล้อมในระบบบำบัด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่( มากกว่า 90% )ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ระบบนี้จะเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย( ในบ่อเติมอากาศ ) เพื่อให้น้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนมากเพียงพอที่จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนำไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียและการดำรงชีพขยายเซลล์ต่อไป ถ้าในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนเลย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็อยู่ไม่ได้( ตายยกบ่อบำบัด ) ดังนั้น จึงต้องมีการบำรุงและรักษามันไว้เป็นอย่างดีเพื่อให้อยู่ในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ให้มากที่สุด เพื่อจะได้ทำการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การมีปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัด( บ่อบำบัด ) ถ้ามีปริมาณน้อยก็มีปัญหา ถ้าไม่มีเลย ( จุลินทรีย์ย่อยสลายตายยกบ่อบำบัด ) ยิ่งมีปัญหามากเข้าขั้นวิกฤตน้ำเสียต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ความหมายของการบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงการบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ( น้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกๆค่า ) หรือการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางราชการกำหนด กรณีที่ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งบางค่าไม่ผ่านเกณฑ์ แต่มีบางค่าผ่านเกณฑ์ก็ไม่ถือว่า การบำบัดน้ำเสียนั้นๆมีประสิทธิภาพ ถือว่ายังไม่มีประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสีย ต้องนำไปแก้ไขและปรับปรุงใหม่จนกว่าจะมีประสิทธิภาพ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งทุกๆค่าผ่านเกณฑ์กำหนด จึงจะถือว่า การบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพดี บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับการบำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่า : จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลายสายพันธุ์จากธรรมชาติ นำมาสังเคราะห์รวมไว้ในที่เดียวกัน มีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียได้ดี รวมถึงการบำบัดน้ำเสีย ( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยา ทั้งการย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่เด่นๆอีกคุณสมบัติหนึ่งคือ การบำบัดกลิ่น(ดับกลิ่น)ได้ดี แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปใช้ในงานบำบัดน้ำเสีย การทำหน้าที่บำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย ) จะเหมือนกันกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเหมือนกันและได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน( ตามสมการจำลองด้านล่าง ) จะแตกต่างกันตรงที่กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะไม่ใช้ออกซิเจนในน้ำเสียในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ ถึงแม้ในน้ำเสียจะมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำงานย่อยสลายได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถทนแรงต้านทานสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตได้ดี เช่น ในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย และกรณีที่ค่า pH ในน้ำเสียมีค่าต่ำมากหรือสูงมากในบางครั้ง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทนกับสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ได้ ในขณะที่กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนไม่สามารถทนแรงต้านทานที่วิกฤตเหล่านี้ได้ ( ตายยกบ่อบำบัด ) นี่คือความแตกต่างของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน
สมการจำลองปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย ด้านบนเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ส่วนด้านล่างเป็นปฏิกิริยาของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ซึ่งผลลัพธ์จะเป็นไปตามสมการ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบบำบัดและน้ำเสียที่มาจากทุกๆแหล่ง มีวงจรชีวิตเหมือนกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั่วๆไป จุดเด่นคือ สามารถสังเคราะห์ขึ้นมากหรือน้อยตามความต้องการได้ และเราสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายมากหรือน้อยเข้าไปในระบบบำบัดได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาเหมือนกรณีการเพิ่มปริมาณของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งระบบต้องใช้เวลารันระบบเป็นสัปดาห์จึงจะเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าระบบบำบัดจะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา ทั้งปัญหาทางด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัด ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนที่มีจุดอ่อนค่อนข้างมาก ระบบมีปัญหาจุดใดจุดหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนทันที จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจึงเป็นตัวเติมเต็มและแก้ปัญหาให้กับการบำบัดน้ำเสีย ทดแทนจุลินทรีย์ย่ยสลายในระบบมีน้อยหรือกรณีที่จุลินทรีย์ย่อยสลายตายเกลี้ยงบ่อบำบัด สามารถนำไปทดแทนการบำบัดน้ำเสียได้ทันที ระบบบำบัดน้ำเสียโดยทั่วๆไปมีทั้งหมด 6 ระบบ แต่ระบบบำบัดที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดก็คือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ( Activated Sludge : AS ) ดังนั้น ต่อไปนี้จะกล่าวถึงระบบบำบัดน้ำเสียชนิดนี้เป็นหลัก ระบบบำบัดแบบเติมอากาศนี้จะมีจุดที่สำคัญอยู่ 3 จุดด้วยกัน คือ มีบ่อรับน้ำเสีย( บ่อแรก ) บ่อเติมอากาศ และ บ่อตกตะกอน ( บ่อน้ำทิ้ง ) ส่วนจะมีการเสริมหรือเพิ่มจำนวนบ่อขึ้นมาอีกในจุดใดจุดหนึ่งก็สามารถทำได้ จุดเด่นๆของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จะอยู่ที่บ่อเติมอากาศ เหตุเพราะบ่อเติมอากาศจะเกิดปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ) มากที่สุดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ บ่อเติมอากาศหรือบ่อปฏิกิริยาเป็นบ่อที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักอาศัยอยู่มากที่สุด( เพราะมีการเติมออกซิเจนตลอดเวลา ) จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ มีอาหารเพียงพอ และมีออกซิเจนมากเพียงพอต่อการดำรงชีพและดึงไปใช้ในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสองสิ่งนี้ก็ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จึงต้องออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนอยู่ได้ ออกซิเจนและอาหารต้องเพียงพอ เมื่อใดที่ระบบมีปัญหาขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนนี้ทันที ปริมาณอาจลดลงหรือตายยกบ่อบำบัดได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งแต่ละค่าโดยตรง ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ) บทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสีย สำหรับบทบาทของจุลินทรีย์หอมคาซาม่ากับระบบบำบัดน้ำเสียนั้นจะช่วยทั้งการเพิ่มและการเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบบำบัดได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ .- 1. ปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายในระบบบำบัดหรือในบ่อบำบัดมีน้อย( จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในบ่อบำบัดมีน้อย ) อันเนื่องมาจากปัญหาเหล่านี้ 1.1 เครื่องเติมอากาศเสียรอซ่อม จะทำให้ในบ่อบำบัดปริมาณออกซิเจนจะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จะทำให้น้ำเน่าเสียวิกฤตมากยิ่งขึ้น ซึ่งกว่าจะรันระบบเริ่มใหม่หรือบูทระบบใหม่ต้องใช้เวลานาน ในขณะที่ของเสียและน้ำเสียเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จนกลายไปเป็นวิกฤตน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นทั่วบ่อบำบัด 1.2 เครื่องเติมอากาศมีกำลังแรงม้าต่ำหรือกำลังวัตต์ต่ำ ซึ่งจะกระจายออกซิเจนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เครื่องเติมอากาศต้องมีกำลังสมดุลกับปริมาณของน้ำเสีย ( ต้องเผื่อ Overload ประมาณ 10% ) ไม่ควรหยุดเดินเครื่องเติมอากาศเป็นเวลานานๆ เพราะจะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนลดลงได้ 1.3 อาหาร( ของเสีย )ไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ย่อสลายลดลงได้ 1.4 ออกแบบระบบและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและขยายเซลล์( ขยายตัว )ของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน 2. สิ่งแวดล้อมในน้ำเสีย ( ในบ่อบำบัด ) มีปัญหา เช่น ค่าออกซิเจนละลายในน้ำเสียต่ำ ( ค่า DO ต่ำ ) โดยทั่วไปค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l หรือกรณีน้ำเสียมีค่า pH ต่ำมาก หรือสูงมาก จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนโดยตรง อาจตายเกลี้ยงบ่อบำบัดได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องมีการเช็คค่าเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ( ค่า DO , pH ) ถ้าเกิดปัญหาขึ้นต้องรีบแก้ไขทันทีให้ทันเวลาก่อนจุลินทรีย์ย่อยสลายจะตายยกบ่อบำบัด 3. ระบบเกิดการโอเวอร์โหลด ( Overload ) คือ น้ำเสียเข้าระบบมากเกินไปในบางครั้ง ในขณะที่ปริมาณจุลินทรีย์ไม่ได้เพิ่มปริมาณตามน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ส่งผลต่อค่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ ( ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่าน ) 4. จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนตายยกบ่อบำบัด ซึ่งสังเกตได้จากกลิ่นเน่าเหม็นที่รุนแรง สิ่งที่จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนนี้ตายยกบ่อได้มีหลายปัจจัย เช่น มีสารเคมีที่เป็นอันตรายหลุดเข้าไปในบ่อบำบัด หรือในน้ำเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลยเป็นต้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้ในจุดนี้ ( ปัญหา 1 - 4 ) ไม่ว่าค่า DO ในน้ำเสียจะมีมากหรือมีน้อยหรือไม่มีเลย ค่า pH จะต่ำมากหรือสูงมากก็ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำรงชีพและการทำงานย่อยสลายของเสีย( บำบัดน้ำเสีย ) ของจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ดังนั้น จึงเป็นกำลังเสริมและกำลังสนับสนุนการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบได้เป็นอย่างดีในยามวิกฤตเกิดปัญหาขึ้นตามข้อ 1 - 4 สามารถทดแทนและแก้ไขปัญหาได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา RUN และ REBOOT ระบบบำบัดใหม่เป็นสัปดาห์ให้เสียเวลา เพราะน้ำเสียเกิดขึ้นตลอดเวลาต้องแก้ไขปัญหาทันที ถึงแม้ว่าระบบบำบัดเดิมไม่มีปัญหาใดๆ แต่ต้องการเริ่งปฏิกิริยาการบำบัดน้ำเสีย( ย่อยสลายของเสีย ) ให้เร็วขึ้น ให้การย่อยสลายเกิดได้มากขึ้นกว่าปกติก็สามารถใช้จุลินทรีย์หอมคาซาม่าไปเริงปฏิกิริยาได้ทันที ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียโดยตรง ในการบำบัดน้ำเสียจากทุกๆแหล่ง จากระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่มนี้เป็นหลัก ถ้าขาดหรือปราศจากจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ( ในทั้งสองกลุ่มนี้ ) แล้ว น้ำเสียทั้งหมดก็จะไม่ได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำดี น้ำเสียและของเสียต่างๆคงล้นโลกใบนี้ไปนานแล้ว นี้คือ กระบวนการต่างๆในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี
ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียด้วยการใช้จุลินทรีย์แบบคร่าวๆ ( ชนิดใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ) อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ในการบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบและจากทุกๆแหล่งไม่ว่าจะบำบัดด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม แต่กระบวนการบำบัดขั้นสุดท้ายจะจบลงด้วยการบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียและบำบัดน้ำเสียเสมอ สสารหรือของเสียต่างๆในน้ำเสียก็จะถูกแปรสภาพไปในที่สุดตามภาพจำลองปฏิกิริยาการย่อยสลายด้านล่าง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนและกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนล้วนมีอิทธิพลและมีบทบาทในการบำบัดน้ำเสียทั้งสิ้น ซึ่งในระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่จะนิยมใช้ประโยชน์จากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักในการบำบัดน้ำเสีย ดังนั้น ในระบบบำบัดจึงต้องมีการเติมอากาศออกซิเจนลงไปในน้ำเสีย เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนดึงไปใช้งานในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียและการดำรงชีพ จึงเป้นที่มาของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศหรือระบบ AS จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( จุลินทรีย์หอม Kasama ) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆและการบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น) จัดอยู่ในกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย ( Anaerobic Bacteria ) ไม่ว่าในน้ำเสียนั้นๆจะมีหรือไม่มีออกซิเจนก็ตาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่าก็สามารถทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียได้ตามปกติ ซึ่งจะแตกต่างไปจากกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( Aerobic Bacteria ) ซึ่งจะขาดออกซิเจนไม่ได้โดยเด็ดขาด เหตุผลที่ต้องเติมอากาศลงในบ่อบำบัดน้ำเสียก็เพื่อการดำรงชีพและการเจริญเติบโตขยายเซลล์ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนนี่เอง จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถทำงานย่อยสลายของเสียได้ทั้งในสภาวะไร้ออกซิเจนและมีออกซิเจน และสามารถทำงานแบบร่วมกัน ( ย่อยสลายของเสีย ) กับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนได้ดี มีคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่ง นั่นก็คือ การบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น)ไม่พึงประสงค์ทุกๆชนิด โดยเฉพาะกลิ่นที่เกิดจากสารอินทรีย์ทั้งหลาย ( ทั้งพืชและสัตว์ ) ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้จะไม่มีในกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์หอมคาซาม่าช่วยทั้งเพิ่มและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้การย่อยสลายของเสียในน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย สามารถใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียได้ทุกๆระบบในประเทศไทย เสริมจุดด้อยของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศที่มีปัญหาปริมาณจุลินรีย์ย่อยสลายมีน้อย การเติมอากาศได้ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อบำบัด เครื่องเติมอากาศเสียหรือไม่มีเครื่องเติมอากาศเลย
จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คืออะไร ? จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย คือ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ในด้านการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดกลิ่น ( ดับกลิ่น ) เราได้พัฒนาจุลินทรีย์อีเอ็มเดิมให้มีกลิ่นหอมตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อตอบโจทย์การบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นดับกลิ่น)เน่าเหม็น กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ กลิ่นเหม็นในบ่อบำบัดน้ำเสียอีกทางหนึ่ง ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ จึงเป็นจุดเด่นที่เพิ่มขึ้นของจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย และการบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น)ไม่พึงประสงค์ต่างๆที่เกิดขึ้นในบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งโดยทั่วๆไปจุลินทรีย์จะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรสชาติใดๆ ทุกอย่างเกิดจากการพัฒนาขึ้นในภายหลังทั้งสิ้น เราได้พัฒนาให้จุลินทรีย์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียให้มีกลิ่นหอม จึงเป็นที่มาของจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ในนาม จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์ที่มีกลิ่นหอมนั่นเอง ที่มาของจุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียคาซาม่า หรือจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลาย เราได้พัฒนากลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายชนิดไม่ใช้ออกซิเจนให้มีกลิ่นหอมเพิ่มขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งตามปกติจุลินทรีย์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติใดๆ เพื่อการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์กลุ่มนี้ให้มากขึ้นและตอบโจทย์ได้ดีในเรื่องของการบำบัดกลิ่น(กำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่น)ไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะน้ำเสียหรือน้ำเน่าเสียที่วิกฤตหนัก ในน้ำที่เน่าเสียไม่มีจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายเลย ( เพราะน้ำที่เน่าเสียไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำ ) จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียคาซาม่าจึงตอบโจทย์ในปัญหานี้ได้ดี เพราะจุลินทรีย์หอมคาซาม่าไม่ใช้ออกซิเจนในการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสีย ในขณะที่ทำหน้าที่บำบัดกลิ่นหรือกำจัดกลิ่นน้ำที่เน่าเหม็นในน้ำที่เน่าเสียไปในตัวอีกหน้าที่หนึ่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งได้ประโยชน์สองต่อในเวลาเดียวกันคือ ทั้งการบำบัดน้ำเสียและการบำบัดในเรื่องกลิ่น(ดับกลิ่นกำจัดกลิ่น)น้ำที่เน่าเสีย ตามสมการจำลองการทำงานของจุลินทรีย์หอมคาซาม่าด้านล่างนี้
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในจุดใด ? เนื่องจากจุลินทรีย์หอมคาซาม่ามีคุณสมบัติในการย่อยสลายของเสียเหมือนกับกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ระบบบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบออกแบบมาเพื่อต้องการดึงกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายเข้าระบบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียในบ่อบำบัดที่สร้างขึ้นมา ระบบบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ AS ( มากกว่า 90% ) ระบบบำบัดแบบเติมอากาศจะดึงเอาจุลินทรีย์ย่อยสลายในธรรมชาติมาใช้งานย่อยสลายของเสียต่างๆ แต่ไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายให้มีมากเพียงพอกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริง จึงส่งผลให้ของเสียต่างๆบางส่วนในน้ำเสียนั้นๆถูกย่อยสลายได้ไม่หมด ยังคงมีของเสียส่วนหนึ่งตกค้างในระบบบำบัดและผ่านไปยังบ่อพักน้ำทิ้งเพื่อเตรียมปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์อยู่บ่อยๆและเป็นประจำ จะด้วยข้อจำกัดของระบบบำบัดหรือปัญหาอื่นๆที่ทำให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ จุลินทรีย์หอมคาซาม่าจะมาเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสีย ( ช่วยเพิ่มการย่อยสลายของเสีย ) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียให้เพิ่มขึ้นหรือมากขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง เป็นการบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนกับจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ) ถือว่าเป็นการบำบัดซ้ำหรือการย่อยสลายซ้ำ ( Double Treatment ) ส่งผลให้ของเสียต่างๆในน้ำเสียถูกย่อยสลายได้มากขึ้น เป็นปฏิกิริยาบำบัด 2 ชั้น หรือ 2 ขั้นตอนตามภาพจำลองด้านล่าง ซึ่งจะส่งผลให้ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น จุลินทรีย์หอมคาซาม่าสามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากหรือน้อยได้ตามความต้องการของผู้ใช้ กรณีที่ของเสียหรือน้ำเสียมีปริมาณมากก็สามารถเติมมากได้ตามความต้องการ เพื่อให้สมดุลกับปริมาณน้ำเสียและของเสียที่เกิดขึ้นจริง การบำบัดน้ำเสียก็จะสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ภาพบนเป็นภาพจำลองกระบวนการบำบัดน้ำเสีย(ย่อยสลายของเสีย)ด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ( บ่อที่ 2 ) และ กลุ่มจุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( ไม่ใช้ออกซิเจนบ่อที่ 1 ) จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียจะเกิดขึ้น 2 ครั้งหรือ 2 จุด ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศทั่วๆไป ปฏิกิริยาการย่อยสลายของเสียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในบ่อเติมอากาศเพียงบ่อเดียวเท่านั้น ( นอกจากมีการเสริมบ่อเติมอากาศเพิ่มขึ้น ) ภาพบนการย่อยสลายของเสียในน้ำเสียจะเกิดขึ้นตั้งแต่บ่อแรก ( เติมจุลินทรีย์หอมคาซาม่าลงในบ่อแรก ) ก่อนที่จะส่งไปย่อยสลายต่ออีกครั้งในบ่อที่ 2 ( บ่อเติมอากาศ ) ซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลักรอย่อยสลายของเสียที่เหลือในน้ำเสียที่ส่งมาจากบ่อแรก ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายของเสียซ้ำ ( Double Treatment ) ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายของเสียต่างๆในน้ำเสียทำได้ดีมากขึ้น ของเสียที่เป็นกากตะกอนส่วนเกินในบ่อสุดท้ายเหลือน้อย ( Excess Sludge ) นำไปกำจัดทิ้งหรืออาจนำกลับไปบำบัดซ้ำอีกครั้งหรือหลายๆครั้งได้ ซึ่งที่สุดของการทำปฏิกิริยาย่อยสลายของเสียของกลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายจะได้ผลผลิตตามสมการจำลองด้านล่าง
จุลินทรีย์หอมคาซาม่าประกอบไปด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายกลุ่มและหลากหลายสายพันธุ์ การสังเคราะห์จุลินทรีย์หอมคาซาม่าเป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมารวมอยู่ในที่เดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้งานแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม เราได้สังเคราะห์กลุ่มจุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลงในจุลินทรีย์หอมคาซาม่าเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้นและเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีการเพิ่มราคาจำหน่ายแต่ประการใด ค้นหาเราใน Google.co.th โดยใช้ คีย์เวิร์ด หรือ คำ ดังต่อไปนี้ .- 4. จุลินทรีย์หอมคาซาม่า ( สำหรับภาษาไทย ) 5. จุลินทรีย์หอมรามอินทรา ( จุลินทรีย์ของเรามีที่ตั้งอยู่ถนนรามอินทรา ) 6. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คีย์เวิร์ด 1 - 6 เป็นคีย์เวิร์ดตรงของเราในการเข้าสู่เว็บไซต์ของทางร้าน (Bangkokshow.com )
จุลินทรีย์หอมคาซาม่า จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่มีกลิ่นหอม ที่นี่เราให้คำแนะนำและคำปรึกษาให้กับลูกค้าฟรี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการบำบัดน้ำเสีย ต้องมีความรู้และความเข้าใจในระบบบำบัดและการบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้อง ปัญหาทางด้านเทคนิคในการบำบัดและระบบบำบัดค่อนข้างสลับซับซ้อนมาก เราให้คำแนะนำลูกค้าทุกๆท่านฟรีๆ ในการแก้ไขปัญหา ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งพบมากที่สุด นี้คือจุดเด่นๆของเราที่นี่ ที่ไม่เหมือนใคร เราให้ความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องให้กับลูกค้า ซึ่งเท่ากับลูกค้าได้รับประโยชน์ 2 อย่างเป็นอย่างน้อยเมื่อซื้อสินค้าจากที่นี่ โปรดระวังของลอกเลียนแบบและแอบอ้างไปจากเรา เราไม่ได้อนุญาตให้ใครลอกเลียนแบบทั้งเนื้อหาและสาระทั้งหมดในเว็บไซต์ ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ มีโทษทั้งทางอาญาและแพ่ง จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ราคา จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสีย ราคา ราคาจำหน่ายจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย แกลลอนละ 600 บาท ขนาดบรรจุ แกลลอนขนาด 10 ลิตร ส่งขั้นต่ำ 6 แกลลอนขึ้นไป จัดส่งทั่วประเทศฟรีๆถึงผู้รับภายใน 2 - 4 วันทำการขนส่ง
จุลินทรีย์ไนตริฟลายอิ้งลดค่า TKN ( กำจัดไนโตรเจน ) คลิกดูที่นี่.. จุลินทรีย์ลดค่า TKN ( ไนโตรเจน )ในบ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... จุลินทรีย์เติมบ่อบำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์ใส่บ่อบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... ปัญหาบ่อเติมอากาศส่งกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุใด ? คลิกดูที่นี่.. เทคนิคการลดค่า BOD สูงในน้ำเสียทุกๆแห่ง คลิกดูที่นี่.. การบำบัดน้ำเสียและบำบัดกลิ่นในโรงงานไอศครีมทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานปลาหมึกทุกๆแห่ง คลิกที่นี่.. การแก้ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นในโรงงานขนมจีนทุกๆแห่ง คลิกที่นี่... การเช็คค่า BOD , pH , DO ของระบบบำบัดน้ำเสีย คลิกดูที่นี่... วิธีการลดค่า BOD , SS , TDS ในโรงงานปลากระป๋อง คลิกที่นี่.. จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย/จุลินทรีย์หอมบำบัดน้ำเสียทุกๆระบบ คลิกที่นี่.. |